top of page

The Viola Virtuoso

Master Pieces

       วิโอลามักถูกมองข้ามสำหรับนักประพันธ์และนักดนตรี เนื่องจากมีบทประพันธ์ที่แต่งไว้ให้กับวิโอลาที่ไม่มากและ ให้ความสำคัญกับวิโอลาน้อยเนื่องจากผู้ประพันธ์ส่วนใหญ่ให้วิโอลาเป็นแนวประสานเสียง (Harmony) ในรูปแบบการบรรเลงร่วมกัน (Chamber Music) ซักส่วนใหญ่ซึ่งได้บทบาทเป็นแนวทำนองไม่มาก โดยเสียงขอวิโอลานั้น เป็นเสียงที่ไม่สูงเท่ากับไวโอลินและไม่ต่ำกว่าเชลโล ถึงว่าเป็นเสียงกลาง และสีสันของเสียงวิโอลามีความลึกซึ้งกินใจเป็นอย่างมากแต่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักเครื่องดนตรีชนิดนี้น้อย จึงได้รับขนามนามว่า "ซินเดอเรล่าแห่งเครื่องสาย" โดยที่ วิโอลาไม่เคยโดดเด่นเท่าเครื่องสายเครื่องอื่นๆ แต่เสียงของโอลาไพเราะจับใจเป็นอย่างมาก ผู้เล่นจึงอยากนำเสนอบทเพลงที่นำมาดัดแปลงให้กับวิโอลาและบทเพลงที่แต่งให้กับวิโอลาที่เป็น Master Pieces เพื่อให้ผู้ฟังได้ยินสำเนียงของวิโอลาได้อย่างชัดเจน

23559.jpg

Virtuoso?

plate_006.jpg

Virtuoso (Virtuoso มาจากรากศัพท์ละติน “Virtu,Virtuosus,Virtus”)

    Virtuoso เป็นคำเรียกบุคคลที่มีความสามารถที่โดดเด่น นักดนตรีที่มีทักษะของเทคนิคการเล่นที่พิเศษ เป็นคำที่ใช้ในภาษาอิตาลี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 16 - 17) ซึ่งคำว่า Virtuoso เป็นคำแห่งเกียรติยศที่สงวนไว้สำหรับบุคคลที่มีความโดดเด่นผู้มีความสามรถดนตรี อาจมีความชำนาญ แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ เขาเป็นนักแต่งเพลง นักทฤษฏี หรืออย่างน้อย เป็นมาเอสโตรที่มีชื่อเสียง

   

   ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 - 18 นักดนตรีชาวอิตาลีจำนวนมากได้นำคำว่า “(Virtuoso)”ไปใช้กับนักแสดงในโรงละคร หรือเรียกตนเองเป็นประจำ 

   

      ปลายช่วงศตวรรษที่ 18 คำว่า Virtuoso หมายถึง นักไวโอลิน นักเปียโน นักร้อง

คาสตราโต นักร้อง โซปราโน ฯลฯ ซึ่งมีความสามารถ มีเทคนิคที่น่าทึ่ง 

     (รูปพหูพจน์ของคำว่า Virtuoso : Virtuosi, Virtuosos ส่วนคำที่ใช้สำหรับผู้หญิง : Virtuosa,Virtuose)

     ในช่วงศตววรษที่ 17 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการสร้างเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเพื่อให้เกิดเสียงที่ดีขึ้น อย่างช่างทำคันชัก François Xavier Tourte ได้สร้างคันชักที่ทำให้มีน้ำหนักเสียงเวลาสีบนสายมีความเท่ากันมากขึ้นซึ่งได้เป็นมาตฐานของคันชักในปัจจุบัน แต่ก่อนคันชักยังไม่มีมาตฐานที่ชัดเจนในการทำให้เสียงมีความเท่ากัน ช่างทำเครื่องดนตรีได้สร้างเครื่องดนตรีหรือปรับเครื่องดนตรีให้รองรับกับบทประพันธ์ที่มีเทคนิคการเล่นที่มากขึ้น

     วิโอลาถูกมองว่าเป็นเครื่องดนตรีเดี่ยวชนิดรอง ความคิดนี้เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดของนักประพันธ์พลงเกี่ยวกับเครื่องดนตรีชนิดนี้ อย่างไรก็ตามด้วยการปรับปรุงตัวเครื่องดนตรีและการค้นพบเสียงที่แท้จริงของวิโอลาโดยนักไวโอลินที่ผันตัวเองไปเล่นวิโอลาและนักประพันธ์เพลง ความนิยมของวิโอลาค่อย ๆ เริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยให้ความสำคัญมากขึ้นในวงออร์เคสตรา (Orchestra) เช่นเดียวกับการบรรเลงวงเล็ก (Chamber Music) ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20  นักประพันธ์เพลงหลายคนเริ่มเขียนให้กับวิโอลาโดยได้รับแรงบันดาลใจจากนักวิโอลา Virtuoso เช่น

Pual Hindemith (ค.ศ. 1895 -ค.ศ. 1963), William Primrose (ค.ศ. 1903 -ค.ศ. 1982) และ Lionel Tertis (ค.ศ. 1896  - ค.ศ. 1975)

Viola Virtuoso?

Viola-Violin-Cello-Double-Bass.webp
Viola-Violin-Cello-Double-Bass.webp

-->

Johann_Sebastian_Bach.jpg
Johann Sebastian Bach
Telemann.jpg
Georg Philipp Telemann

      บทประพันธ์สำหรับวิโอลา เริ่มได้เห็นบทบาทบรรเลงเดี่ยว (Solo) ของวิโอลาเมื่อศตวรรษที่ 18 โดยมีนักประพันธ์ เช่น Georg Philipp Telemann ได้ประพันธ์ Viola Concerto in G Major และ Johann Sebastian Bach ได้ให้บทบาทวิโอลาบรรเลง

2 คัน ในบทเพลง Brandenbung Concerto No.6 in Bb Major

200px-Hoffmeister_concerto_per_viola_sol
ea0cadebad6d87cf6d14eb70a2305fd2.jpg
EP3816A_iig4ri_600x.webp
48011639_1200x.webp
1604721636.jpg

       Wolfgang Amadeus Mozart  ที่ได้ประพันธ์ Concertante ที่ประพันธ์ให้กับ ไวโอลิน และวิโอล่า ได้บรรเลงเดี่ยวร่วมกัน (Solo)

      

     Franz Anton Hoffmeister และ Carl Philipp Stamitz ได้ประพันธ์ Viola Concerto in D Major เพื่อให้ Viola ได้บรรเลงเดี่ยว และเป็นบทเพลงมาตฐานสำหรับ สอบคัดเลือก (Audition) สำหรับเข้าวงออร์เคสตราต่างๆ

     

     ในช่วงศตวรรษที่ 19 ถึง 20 ถือเป็นช่วงที่ นักประพันธ์ ได้ค้นหาเสียงใหม่ๆ ไว้กับบทประพันธ์ของเขา ซึ่งค้นพบกับเสียงวิโอลาที่ไพเราะ และมีนักไวโอลินที่สนใจมาเล่นวิโอลา โดย บุคคลสำคัญที่ทำให้วิโอลามีบทบาทในการนำมาบรรเลงเดี่ยวและเผยแพร่ให้รู้จักให้ นักประพันธ์ได้ประพันธ์บทเพลงให้กับวิโอลาโดยมีบุคคลสำคัญได้แก่ Lionel Tertis และ William Primrose

Wolfgang-amadeus-mozart_1.jpg
Franz_anton_hoffmeister.jpg
Karl_Stamitz.jpg
Wolfgang Amadeus Mozart
Franz Anton Hoffmeister
Carl Philipp Stamitz

LIONEL TERTIS

WILLIAM PRIMROSE

William_primrose.jpg
74252.jpg
bottom of page