top of page

Timeline Viola Parts in
Orchestra and
Chamber Music
A.Vivaldi - Four Season : Spring
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาประสานกับแนวไวโอลิน 1 และ 2 เพื่อให้เกิดการประสานเสียง (Harmony) ที่งดงาม


J.S.Bach -Brandenbung Concerto No.3
(Viola I)
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาจะมีถึง 3 แนว ซึ่งทั้ง 3 แนวนี้จะบรรเลงโดยมีทำนองสลับไปมา ของแต่ละแนวและมีการปะสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัวและงดงาม ซึ่งเป็นจุดเด่นของบทประพันธ์ของ J.S.Bach เกือบทุกเพลง
J.Haydn - String Quartet Op.76
and Symphony No.94 (Suprice) II. : Andente


โดยบทประพันธ์ทั้ง 2 นี้ แนววิโอลาจะเป็นแนวประสาน (Harmony) เพื่อให้เกิดเสียงประสานอย่างกลมกลืน และจะสังเกตได้ว่ายุคนี้เริ่มที่จะมีการกำกับความดัง-เบาของบทประพันธ์ (Dynamic) อย่งชัดเจน
W.A.Mozart - Divertimento in D Major, K.136/125a
and Symphony No.40 in G minor


โดยบทประพันธ์ทั้ง 2 นี้ แนววิโอลาจะเป็นแนวประสาน (Harmony) เพื่อให้เกิดเสียงประสานอย่างกลมกลืน ซึ่งแนวคิดจะคล้ายกับบทประพันธ์ของ Haydn ซึ่ง Mozart ได้รับอิทธิพลการประพันธ์จากเขา
L.V.Beethoven - Symphony No.5
II : Andante con moto
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาและแนวเชลโล ได้รับบทบาทเล่นแนวทำนอง ซึ่งให้ความรู้สึกซาบซึ้งเนื่องจากเสียงของเครื่องดนตรีที่ให้เสียงเสียงนุ่มลึก สุขุม เข้าไปในใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก

R.Wagner - Siegfried-Idyll, WWV 103
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาได้รับบทบาทเป็นแนวประสาน (Harmony) ซึ่งแนวประสานสานของวิโอลามีความลึกซึ้งกินใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการใช้โน้ตครึ่งเสียง เพื่อให้เกิดระดับความเข้มข้นของตัวแนวประสาน เพื่อให้ความรู้สึกอารมณ์ที่เข้มข้นขึ้น ซึ่งเป็นจุดเด่นในบทประพันธ์ของ wagner

J.Brahms : Symphony No.1
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาได้รับบทบาทเป็นแนวประสาน (Harmony) ซึ่งจะสังเกตได้แนววิโอลาแบ่งเป็นสองแนว ซึ่ง Brahms ต้องให้แนวประสานมีความเข้มข้นมากขึ้น ซึ่งบทประพันธ์นี้ใช้กุญแจเสียง C ไมเนอร์ ซึ่งบันไดเสียงไมเนอร์ ใ ห้ความรู้สึก เศร้า หรือ หดหู่ เพราะฉะนั้น การแบ่ง 2 แนวนี้ยิ่งทำให้ความเข้มข้นของแนวประสานเข้มข้นมากขึ้น

A.Dvořák - String Quartet No.12, Op.96
(American)
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาได้รับบทบาทเป็นตัวดำเนินทำนองหลัก
ซึ่งบทประพันธ์นี้ ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดการนำทำนองดนตรีพื้นบ้าน เข้ามาในบทประพันธ์ของเขาซึ่งจะมีกลิ่นอายวัฒนธรรมเฉพาะตัวของผู้ประพันธ์

P.I.Tchaikovsky - Symphony No.6, Op.74 (Pathétique)
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาได้รับบทบาทเป็นตัวดำเนินทำนอง ซึ่งได้แบ่งแนววิโอล่า 2 แนว โดยที่แนวบทเป็นแนวทำนองส่วนแนวล่างเป็นตัวรองรับทำนองจากแนวบน

G.Mahler - Symphony No.7
III. : Satz
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาได้รับบทบาทเป็นทำนองเดี่ยว ซึ่งแนวทำนองเดี่ยวของวิโอลาของบทประพันธ์นี้ ให้ความรู้สึกลึกลับ น่าค้นหา

I.Stravinsky - Firebird
โดยบทประพันธ์นี้ แนววิโอลาได้รับบทบาทเป็นแนวประสาน (Harmony) มีการใช้ mute (Mute : Con sord) เข่้ามาในบทประพันธ์ เพื่อสร้างเสียงให้เกิดความแตกต่าง

bottom of page