top of page

Béla Bartók 

Viola Concerto

Sz. 120, BB 128

Allegro vivace
Bartok.jpg

      ท่อนที่สาม Allegro Vivace ซึ่งประพันธ์อยู่ในบันไดเสียง A ไมเนอร์ ซึ่งลีลาท่อนนี้จะเป็นแนวทำนองร่วมกับแนวบรรเลงประกอบ (Homophony) โดยวงออเคสตร้าเป็นแนวบรรเลงประกอบ (Accompaniment) โดยท่อนนี้โดยรูปแบบสัญคีตลักษณ์เป็นรูปแบบ Sonata Form โดย

     ท่อน Exposition (ห้องที่ 1-64) เปิดด้วยวงออเคสตร้า และแนวเดี่ยววิโอลานำเสนอทำนองหลักที่ 1 ในห้องที่ 5 ความรู้สึกของท่อนนี้มีความรู้สึกที่ เร้าใจ สนุกสนาน เนื่องจากจังหวะของที่นี้ที่เร็ว และแนวบรรเลงประกอบใช้จังหวะเหมือนจังหวะเต้นรำของทางยุโรปตะวันออก

     ห้องที่ 65-113 เป็นการเข้าสู่ Transition เพื่อต่อไปยังทำนองที่ 2 ลักษณะทำนองมีความ เร้าใจ แต่มีความวุ่นวายในตัวทำนอง เนื่องจากแนวทำนองเดี่ยววิโอล่ามีความซับซ้อน

     ห้องที่ 114-177 เป็นการนำเสนอทำนองหลักที่ 2 โดยที่จังหวะของทำนองนี้ได้ช้าลง ให้ความรู้สึกเหมือนการเต้นรำของชาวยุโรปตะวันออก โดยที่จังหวะของแนวบรรเลงประกอบที่กระชับ

     ท่อน Development (ห้องที่ 178-221) เป็นการนำเสนอการแปรทำนอง โดยที่แนวเดี่ยววิโอลาได้มีการพัฒนา โดยมีการใช้การเล่นสองสายพร้อมกัน (Double Stop) ในการแปรทำนอง ซึ่งให้ความรู้สึก วุ่นวาย ซับซ้อน กระวนกระวาย

     ท่อน Recapitulation (ห้องที่ 222-267) เป็นการกลับเข้าสู่ทำนองหลักที่ 1 จากท่อน Exposition โดยที่แนวเดี่ยววิโอลาได้ขยับโน้ตที่สูงขึ้น 

IMG_0999.JPG
IMG_1005.JPG
IMG_1003.JPG
IMG_1006.JPG
IMG_1001.JPG

ท่อน Exposition (ห้องที่ 1-49)

Transition ของ Exposition (ห้องที่ 65-113)

ทำนองหลักที่ 2 ของ Exposition (ห้องที่ 114-177)

ท่อน Development (ห้องที่ 178-221)

ท่อน Recapitulation (ห้องที่ 222-267)

© 2019 by Kawalee Phakarat. Proudly created with Wix.com

  • Facebook White Icon
  • YouTube White Icon
bottom of page