Béla Bartók
Viola Concerto
Sz. 120, BB 128
Moderato

ท่อนที่หนึ่ง Moderato รูปแบบสังคีตลักษณ์เป็นรูปแบบ Sonata Form โดย
Exposition - ห้องที่ 1-64 วิโอล่านำเสนอทำนองหลักที่ 1 และกลุ่มเครื่องสายรับช่วงเข้ามา ซึ่งทำนองแนว Viola Solo ได้เสนอทำนองเป็น Cadenza ซึ่งจังหวะอิสระ จนกลับเข้ามาอยู่ในจังหวะในห้องที่ 14 โดยลักษณะ Cadenza จะคล้ายๆลักษณะเหมือนเป็นโหมโรง (Prelude) ที่มีการเกริ่นก่อนซึ่งจัวหวะอิสระแล้วเข้าสู่จังหวะบังคับต่อมา ลักษณะของทำนองมีความดุดัน ลึกลับ
ห้องที่ 41-60 เป็นการเข้าสู่ Transition เพื่อต่อไปยังทำนองที่ 2 โดย Transition นี้ ให้ความรู้สึกมีความเคลื่อนไหว
ห้องที่ 61-78 เป็นการนำเสนอทำนองหลักที่ 2 ลักษณะของทำนอง มีความอ่อนหวาน แต่ยังมีความลึกลับ ซ่อนเร้น
Development - ห้องที่ 79-135 เป็นการนำเสนอการแปรทำนอง ให้ความรู้สึกที่ความสับสน วุ่นวาย แต่มีกลิ่นอายของทำนองเพลงของยุโรปตะวันออก
Cadenza - ห้องที่ 135-146 ดำเนินทำนองที่ช้า และค่อยๆแผ่วลง ให้ความรู้สึกเยือกเย็น เนื่องจาก แนวเดี่ยววิโอลาได้ดำเนินทำนองเดี่ยว
Recapitulation - ห้องที่ 147-161 เป็นการกลับเข้าสู่ทำนองที่ 1 จาก Exposition โดยที่ออร์เคสตราเล่นทำนองหลักที่ 1 แทนแนวเดี่ยวของวิโอลา และแนวเดี่ยววิโอลาเล่นแนวบรรเลงประกอบ
ห้องที่ 162-230 เป็นการเข้าสู่ Transition ของท่อน Recapitulation เพื่อต่อไปยังทำนองใหม่ โดย Transition นี้จะคล้ายกับ Transition ของท่อน Exposition แต่งอยู่ในบันไดเสียง E ไมเนอร์
Coda - ห้องที่ 231-248 ดำเนินทำนองที่ช้า เพื่อส่งต่อไปยังท่อนต่อไป

Exposition - ทำนองหลักที่ 1 ได้เสนอทำนองเป็น Cadenza ซึ่งจังหวะอิสระ จนกลับเข้ามาอยู่ในจังหวะในห้องที่ 14

Transition ก่อนไปทำนองที่ 2 (ห้องที่ 41-60)

ทำนองหลักที่ 2 - (ห้องที่ 61-78)

Development - (ห้องที่ 79-135)

Cadenza - (ห้องที่ 135-146)

Recapitulation - (ห้องที่ 147-161) เป็นการกลับเข้าสู่ทำนองที่ 1 จาก Exposition โดยที่ออร์เคสตราเล่นทำนองหลักที่ 1 แทนแนวเดี่ยวของวิโอลา และแนวเดี่ยววิโอลาเล่นแนวบรรเลงประกอบ

Transition ก่อนไปทำนองที่ 2 (ห้องที่ 162-185)

ทำนองใหม่ของ Recapitulation - (ห้องที่ 186-230)

Coda - (ห้องที่ 231-248)