top of page

Niccolò Paganini

Caprice Op.1 No.20

Transcribed For Viola

(1782 - 1840)
Paganini.jpg

      นิกโคโล ปากานีนี (Niccolò Paganini : 27 สิงหาคม ค.ศ. 1782 - 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1840) เป็นนักไวโอลิน วิโอลา กีตาร์ ชาวอิตาลี ที่มีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับถึงฝีมือการเล่นว่าเป็นที่หนึ่งในยุคนั้น ทั้งยังได้พัฒนาเทคนิคการสีไวโอลินแบบใหม่ เขายังมีผลงานประพันธ์

โซนาตา คอนแชร์โต และคาปรีซสำหรับการเดี่ยวไวโอลินจำนวนหลายชิ้น ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ Caprice No. 24 

    

     Paganini เริ่มหัดเล่นดนตรีตั้งแต่อายุ 5 ปี โดยเล่นแมนโดลินของบิดา เริ่มเล่นไวโอลินเมื่ออายุ 7 ปี และเริ่มแสดงพรสวรรค์ออกมาจนได้รับทุนการศึกษาด้านดนตรี เมื่อโตขึ้นได้ย้ายไปเรียนไวโอลินที่ปาร์มา ก่อนจะย้ายไปฟลอเรนซ์ โดยมีชื่อเสียงในระดับท้องถิ่น

  

     Paganini เริ่มมีชื่อเสียงในวงกว้างจากการเล่นคอนเสิร์ตที่โรงอุปรากร ลา สกาลา เมือง

มิลาน ในปี ค.ศ. 1813 ต่อมาได้เดินทางไปเล่นในต่างเมือง เช่นที่ เวียนนา ในปี ค.ศ. 1828 ลอนดอน ในปี ค.ศ. 1831 และปารีส ในปี ค.ศ. 1831 และ 1833

    

     ช่วงบั้นปลายชีวิต ปากานีนีป่วยด้วยโรคจากพิษของสารปรอทที่ใช้ในการรักษาโรคซิฟิลิส จนต้องเลิกเล่นดนตรีในปี ค.ศ. 1834 และเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งคอหอยในปี ค.ศ. 1840

Pa1.jpg
Pa2.jpg

     คาปริซ 24 สำหรับไวโอลิน โดยประพันธ์เป็นชุดๆ (6 ชุด, 6 ชุด, 12 ชุด) โดย

นิโคโล พากานินี ( Niccolò Paganini) ประพันธ์ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1802 - 1817 โดย

ได้ถูกจัดลำดับ Cataloge กำหนดให้เป็น M.S. 25 ใน Maria Rosa Moretti and Anna Sorrento ที่เมือง Genoa (เจนัว) ในปี พ.ศ. 2525 ในการเฉลิมฉลองครบรอบ 200 ปีของ พากานินี

     The Caprice จัดเป็นแบบฝึกหัด (études) ซึ่งในแต่ละท่อนจะใช้ทักษะการเล่นแตกต่างกัน (double stopped trills ,Octave,ฯลฯ) โดยได้ถูดเผยแพร่ในปี

ค.ศ.1820 โดยได้ถูกจัดใน Op.1 เผยแพร่โดย Cosa Ricordi เป็นผู้จัดพิมพ์ ร่วมกับ 12 Sonata สำหรับ ไวโอลินและกีต้าร์ (Op.2 และ 3 ) และ 6 Guitar Quartets (Op.4 และ 5) เมื่อ Caprice ได้ถูกเผยแพร่ เขาได้ประพันธ์ Caprice อุทิศแด่ “alli artisti” (to the artist)แทนที่จะอุทิศเป็นบุคคลเจาะจง (รวมทั้ง Edition อื่นๆด้วย )

         Op.1 No.20 Paganini ได้ประพันธ์ในไว้ในบันไดเสียง D เมเจอร์ (Viola : G เมเจอร์) ซึ่ง ช่วงต้นเพลงจะรู้สึกเหมือน ปี่สกอตส์ (คือเครื่องดนตรีที่การทำงานคล้ายแคน ที่มีหลายท่อ และเวลาเป่าจะมีเสียงทั้งทำนองและแนวบรรเลงประกอบซึ่งเป็นเสียงที่ลากยาวออกมาพร้อมกัน) โดยลีลาเพลงเป็น Homophony โดยมีทำนอง (Melody) และ มีแนวบรรเลงประกอบ (Accompaniment) ด้วยกัน รูปแบบสัญคีตลักษณ์เป็นรูปแบบ A - B - A (Ternary Form)

         โดย ท่อน A ใช้เทคนิคเล่นสองสายพร้อมกัน (Double stop) โดยให้สายที่ 2 เล่นแนวทำนอง พร้อมกับสายที่ 3

ที่เล่นเสียงค้าง (Drone) ให้คล้ายกับเสียงปี่สกอตส์

         ท่อน B เป็นท่อนที่โชว์เทคนิค ที่แพรวพราว โดยใช้บรรไดเสียง B ไมเนอร์ (Viola : E ไมเนอร์) เช่นการไล่  Appeggio ที่รวดเร็ว และการเล่นข้ามสายที่รวดเร็ว ต้องแม่นยำ สุดท้ายกลับมาท่อน A ซึ่งกลับมาทำนองของท่อน A

ท่อน A

1.1.jpg

     ท่อน A ห้องที่  เริ่มโดยการเล่น 2 สายพร้อมกัน (Double Stop) โดย สายที่ 2 เล่นแนวทำนอง และสายที่ 3 เล่นเสียงลากยาว เป็นแนวบรรเลงประกอบที่เสียงค้างยาว (Drone)โดยเป็นการนำเสนอ Theme ของท่อนนี้ ซึ่งเป็นการเลียนแบบเครื่องดนตรี ปี่สก๊อต

1.2.jpg

ห้องที่  เป็นจุดพีกของท่อนนี้ (A) โดยเล่นทั้ง 3 สาย (Triple Stop) โดย สายที่1 และสองเป็นแนวทำนองประสานเป็นคู่ 6th และสายที่ 3 เล่นเป็นแนวบรรเลงประกอบที่เสียงค้างยาว (Drone)

ท่อน B

1.3.jpg

     ท่อน B ห้องที่  ท่อนนี้จะ Modulate เปลี่ยนคีย์เป็น B ไมเนอร์ เริ่มโดยการรัวโน้ต (Trill) อย่างรวดเร็ว  และซ้ำทำนอง (Sequence) ขึ้นไป แล้วจบประโยค โดยใช้ Appeggio ซึ่งเป็นท่อนที่โชว์ความแพรวพราวของการรัวโน้ต (Trill) และเป็น

การเสนอทำนองที่ 2

1.4.jpg

     ท่อน B ห้องที่  ประโยคนี้ เป็นการเล่นข้ามสายอย่างรวดเร็ว และมีรัวโน้ต (Trill) ซึ่งผู้เล่นต้องซ้อมอย่างช้าๆ และแม่นยำอย่างมาก

2.1.jpg

ห้องที่  ประโยคนี้ มีการใช้ คู่ 8 และ Appeggio สลับไปมา

2.2.jpg

ห้องที่  ประโยคนี้ มีการใช้ คู่ 8 และเปลี่ยนบันไดเสียง (Modulate) กลับมาของทำนองที่ 2

ท่อน A'

2.3.jpg

 ห้องที่  กลับมาที่ ท่อน A

     หลังจากได้เล่นเพลงนี้ ผู้เล่นรู้สึกว่า ต้องซ้อมเทคนิค อย่างเช่น Double Stop เทคนิคโบว์ Up Bow Staccato ให้คล่อง ชำนาญ ซึ่งบทเพลงนี้ ต้องเล่นขั้นคู่ให้ตรงเป็นอย่างมาก และ เทคนิคโบว์ให้เสียงเนียน เพื่อให้เล่นบท

เพลงนี้ได้ชัดเจนและที่สำคัญคือ บทเพลงนี้เป็นบทเพลงที่แต่งให้กับ ไวโอลิน ซึ่งถึงแม้จะเป็นบทเพลงของไวโอลิน แต่เราต้องดึงศักยภาพของวิโอลาให้ออกมาและมั่นใจกับการเล่นบทเพลงนี้ 

N. Paganini : Caprice Op.1 No.20 Transcribed for Viola

bottom of page